พลังแห่งการภาวนา
คลื่นพลังงานของการสวดภาวนา เป็นคลื่นพลังงานที่มีผลต่อการทำงานระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ได้ โดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับระยะทาง (Non Local)
งานวิจัยชิ้นสำคัญ ของนายแพทย์ Randolf Byrd, M.D. สรุปว่า การสวดภาวนาสามารถทำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือกดที่มีอาการหนักมีภาวะแทรกซ้อนน้อยลงอย่างชัดเจน ถือได้ว่างานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยที่ประวัติศาสตร์จะต้องจารึกไว้เลยทีเดียว หนังสือเกี่ยวกับสุขภาพแบบใหม่เกือบทุกเล่มอ้างถึงงานวิจัยชิ้นนี้
แม้ว่าจะเป็นที่ฮือฮา และถือว่าเขย่าวงการแทพย์ค่อนข้างมากแค่ไหนก็ตาม งานวิจัยชิ้นนี้ก็ยังเป็นที่กังขาของบรรดาแพทย์จำนวนมากที่ “ไม่เชื่อ” และหลายคนก็พยายามอธิบายว่า อาจจะเป็นผลทางอ้อมในแง่ของจิตวิทยาของผู้เข้าร่วมการทดลองมากกว่า ที่เกิดอาการ “ใจขึ้น” เมื่อมีผู้มาคอยสวดมนต์ให้ ก็เลยทำให้เกิดผลการรักษาที่ดีกว่าแบบนั้น
แพทย์หญิง Elisabeth Targ, M.D. จิตแพทย์ในระบบ และเป็นหนึ่งในแพทย์ที่ “ไม่เชื่อ” และ “สงสัย” ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในงานทดลองของคุณหมอ Byrd เธอเติบโตมาในครอบครัวนักวิทยาศาสตร์ ที่คุณพ่อเป็นนักออกแบบงานวิจัยที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่ง เรียนมาในกรอบระบบของการแพทย์ ที่เชื่อในสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นได้ และ “พระเจ้า” ที่ครอบครัวนี้เชื่อว่ามีจริงก็คือ “วิทยาศาสตร์” เท่านั้น แต่ด้วยความสงสัย และมีเหตุการณ์พอเหมาะพอเจาะหลายเรื่องในช่วงนั้น (1980) ที่ทำให้เธออยากจะติดตามในประเด็นดังกล่าวนี้
เพื่อนสนิทของเธอคนหนึ่งเป็นมะเร็งเต้านม ได้โทรมาปรึกษาเธอถึงเรื่องทำนองนี้ และประเด็นเรื่องสาขาวิชา Psychoneuroimmunology เริ่มเป็นที่สนใจ นอกจากนี้คุณพ่อของเธอที่เป็นนักออกแบบงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ก็เริ่มมีความเชื่อเรื่องของ “พลังงานพิเศษ” เหล่านี้จากงานที่เขาทำ และงานวิจัยของนายแพทย์ David Spigel ที่ Standford พบว่าการรักษาแบบกลุ่ม ทำให้คนป่วยมะเร็งเต้านมดีขึ้น งานวิจัยชิ้นแรกๆของเธอเอง เธอก็ได้เห็นกับตาว่าเพียงแค่การรวมกลุ่มกันของคนไข้ ก็เกิดผลต่อจิตใจที่ให้ผลดี เท่าเทียมกับการใช้ยาลดการซึมเศร้าชื่อดังอย่าง Prozac
เหตุผลต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้จิตแพทย์อย่าง Elisabeth Targ เริ่มสงสัยถึง “พลังงานพิเศษ” บางอย่างที่ยังไม่สามารถอธิบายได้ (ด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์แบบเก่าที่มีอยู่เดิม) ว่าเกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้น กับคนไข้ได้อย่างไร เธอจึงได้พยายามคิดค้นการออกแบบงานทดลองทำนองนี้ เพื่อค้นหาคำตอบมาหลายปี จนกระทั่งคุณหมอ Targ ได้ออกแบบงานวิจัยขึ้นมาชิ้นหนึ่ง เพื่อศึกษาดูว่าการสวดภาวนานั้น มีผลอย่างไรกับคนไข้ได้บ้าง การทดลองครั้งนี้ ได้ออกแบบมาเพื่ออุดรอยโหว่บางอย่างที่งานวิจัยของคุณหมอ Byrd ได้ทำไว้โดยที่ในการทดลองครั้งนี้
เธอใช้เวลาหลายเดือน ในการคัดเลือกผู้มีอำนาจพิเศษในการสวดภาวนาจำนวน 40 คนทั่วสหรัฐอเมริกา โดยที่ในกลุ่มนี้มีทุกศาสน ารวมทั้งผู้พิเศษที่ไม่มีศาสนา และ
กลุ่มที่ได้รับการสวดภาวนาในนั้น มีผลการรักษาที่ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการสวดภาวนาอย่างชัดเจน ในการวัดผลทุกชนิด การสวดภาวนานั้นมีผลดีต่อสุขภาพจริง
มีประสบการณ์ในการทำงานเรื่องเกี่ยวกับอำนาจพิเศษต่าง ๆ มาแล้ว
เธอตัดองค์ประกอบเรื่อง “การรู้ถึงงานวิจัย” ว่าอาจจะทำให้เกิดผลทางด้านจิตใจ คืองานวิจัยชิ้นนี้มีความเป็น Double – Blind Study ตามที่มาตรฐานงานวิจัยนิยมกันก็คือ ไม่บอกกับคนไข้ที่เข้าร่วมโครงการ หรือว่ามีงานวิจัยแบบนี้อยู่ คือคนไข้จะไม่ทราบว่ากำลังอยู่ในงานวิจัย ไม่ทราบว่าตัวเองได้รับการสวดภาวนาให้หรือไม่ และคุณหมอที่ดูแลคนไข้ก็ไม่ทราบอีกเช่นกัน ว่าคนไข้คนไหนที่ได้รับการสวดภาวนา
ในขั้นแรก เธอเลือกผู้ป่วยโรคเอดส์ระยะสุดท้ายที่มีอาการใกล้เคียงกันจำนวนเพียง 20 รายเท่านั้น นำรายชื่อ รูปถ่าย อาการทางคลินิก และจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิด T มาใส่ซอง ให้นักวิจัยคนที่ 1 เรียงเลขหมายไว้ ส่งให้นักวิจัยคนที่ 2 เพื่อสลับเลขทั้งหมดอีกจดไว้ แล้วส่งให้นักวิจัยคนที่ 3 สลับตำแหน่งซองอีก แล้วแบ่งกลุ่มคนไข้เป็น 2 กลุ่ม โดยการสุ่มแล้วเก็บรายชื่อนั่นไว้ในล็อกเกอร์ที่ใส่กุญแจไว้ สำหรับรายชื่อและเอกสารฉบับ copy ของกลุ่มแรกนั้นถูกส่งให้ผู้สวดภาวนา โดยให้สวดวันละอย่างน้อย 1 ชั่วโมง 6 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 10 สัปดาห์ติดต่อกัน คนไข้แต่ละคนจะได้รับการตรวจจากผู้สวด 10 คนโดยการสุ่ม และผู้สวดแต่ละคนจะสวดให้คนไข้ 5 คนโดยการสุ่มสลับกัน
ผลการทดลองในช่วงเวลา 6 เดือนผ่านไป พบว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการสวดภาวนาเสียชีวิตไป 40% สำหรับกลุ่มที่ได้รับการสวดภาวนาไม่มีคนไข้รายใดเสียชีวิตเลย ทั้งยังพบว่าแต่ละคนมีสุขภาพที่ดีขึ้นด้วย คุณหมอ Targ แทบจะไม่เชื่อผลการทดลองครั้งนี้ที่ทำกับมือของตนเอง เธอได้กลับไปทบทวนดูทุกขั้นตอนของการวิจัย ว่ามีอะไรที่ผิดพลาดในกระบวนการวิจัยหรือไม่
ในปี ค.ศ. 1998 เธอได้ทำการทดลองใหม่อีกครั้ง…ครั้งนี้เพิ่มจำนวนคนไข้ขึ้นเป็น 40 คน และในช่วงนี้มีการผลิตยาต้านไวรัส 3 ตัวมาใช้ในวงการแพทย์แล้ว (Protease Inhibitors + 2 Antiretro-virus เช่น AZT) ในกลุ่มคนไข้ระยะสุดท้าย ทำให้อัตราการตายของคนไข้ลดน้อยลง เธอจึงต้องหาตัววัดผลใหม่ ซึ่งได้แก่ระดับของเม็ดเลือดขาวชนิด T โรคแทรกซ้อนชนิดอื่น ๆ ของโรคเอดส์ การใช้ยาที่เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ของโรคเอดส์สุขภาพจิตและอื่น ๆ ผลการทดลองออกมาให้เป็นผลที่ชัดเจนว่า กลุ่มที่ได้รับการสวดภาวนาให้นั้น มีผลการรักษาที่ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการสวดภาวนาอย่างชัดเจน ในการวัดผลทุกชนิดอีกเช่นเดิม
นายแพทย์ Larry Dossey, M.D. ซึ่งเป็นคุณหมอที่มีบทบาทสำคัญมากคนหนึ่ง ในเรื่องของการสวดภาวนา ได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่ม หนังสือที่โด่งดังมากชื่อ Healing Words และ Prayer is Good Medicine ได้บอกไว้ว่า เท่าที่ตัวเขารวบรวมงานทดลองวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสวดภาวนานี้ นับถึงปี ค.ศ. 1996 มีถึง 130 การทดลอง และพบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของงานวิจัยเหล่านี้ เชื่อถือได้ว่าการสวดภาวนานั้นมีผลดีต่อสุขภาพของคนไข้จริง
ผมนำมาเขียนและอ้างถึงเหล่านี้ มิได้ต้องการให้เชื่อแบบ “เหลวไหลหรืองมงาย” หากแต่ต้องการชี้ให้ท่านผู้อ่านเห็นประเด็นสำคัญว่า เรื่องจิตใจและเรื่องความเชื่อต่าง ๆ นั้นมีผลเกิดขึ้นอย่างไรกับระบบของร่างกายมนุษย์บ้างและเรื่องเหล่านี้สามารถอธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์แขนงใหม่ การสวดภาวนาเป็นเพียงวิธีการหนึ่งในหลายวิธี ที่จะเหนี่ยวนำให้ระบบร่างกายของเราเข้าสู่สภาวะแห่งความสมดุลได้
ว่าแต่ว่าวันนี้เราสวดภาวนากันหรือยัง
นายแพทย์วิธาน ฐานะวุฑฒ์