วัดแม่พระตั๊กแตน
อาคารเล็ก ๆ ที่มีลักษณะเหมือนวัดน้อยในโคลด์สปริง รัฐมินนิโซตา มีชื่อเรียกว่าวัดแม่พระตั๊กแตน ซึ่งไม่ใช่ชื่อทางการ วัดนี้สร้างขึ้นครั้งแรก ในปี 1877 ทำไมถึงเรียกว่าวัดตั๊กแตน ทั้งนี้เพราะวัดนี้สร้างขึ้นเพื่อถวาย เกียรติแด่พระแม่มารีย์ และเพื่อวิงวอนขอความช่วยเหลือจากพระแม่ ให้ รอดพ้นจากฝูงตั๊กแตนที่กินพืชผลทำลายพื้นที่เพาะปลูกในมินนิโซตา และส่วนอื่น ๆ ของมิดเวสต์ ซึ่งกินเวลาถึงห้าปีติดต่อกัน
การแพร่ระบาดของตั๊กแตนเริ่มขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 1873 เกษตรกรในรัฐมินนิโซตาก็เหมือนกับ เกษตรกรในส่วนอื่น ๆ ของมิตเวสต์ ที่เฝ้าดูเมฆมืดครึ้มที่ทอดยาวข้ามท้องฟ้าด้านตะวันตก และเคลื่อนตัว เข้าหาพวกเขา มันดูเหมือนพายุฝนฟ้าคะนอง แต่พวกเขารู้ว่าเป็นพายุสิ่งมีชีวิตที่กำลังมุ่งหน้ามาทางพวกเขา มันเป็นฝูงตั๊กแตนที่หิวโหยและทำลายล้างหลายล้านตัวจากตะวันออกของเทือกเขาร็อคกี้ เมื่อพายุตั๊กแตน เคลื่อนผ่านบริเวณทุ่งหญ้า ทุ่งข้าวสาลี และพืชผลอื่น ๆ ที่สูงระดับเอว ที่สูงระดับเอว ก็กลายเป็นเพียงตอซังระดับพื้นดิน เท่านั้น ตั๊กแตนกินทุกอย่างทั้งพืชไร่ ไม้ผล และแม้แต่จอบเสียม อุปกรณ์ในฟาร์ม รวมทั้งเสื้อผ้าด้วย
ฝูงตั๊กแตนมีจำนวนแพร่หลายมาก จนเกษตรกรไม่สามารถเก็บพวกมันออกจากถังนมในขณะ ที่รีดนมวัวได้ ตั๊กแตนกัดกินทำลายฟาร์มแล้วฟาร์มเล่า ไม่เพียงแต่ทิ้งชากการถูกทำลายไว้เท่านั้น แต่ยัง เป็นการทำลายในอนาคตด้วย เพราะมีไข่ของพวกมันทิ้งไว้ในดิน ไข่เหล่านี้จะอยู่นิ่ง ๆ จนกว่าฤดูเพาะปลูก ในปีหน้าถึงจะฟักออกมา และลูกตั๊กแตนหลายแสนตัวก็จะป่วนไปทั่วพื้นที่เพาะปลูก ทำลายพืชผลเช่นเดียว กับปีก่อน ชาวนาต้องต่อสู้กับแมลงเหล่านี้แต่ก็ไม่ได้ผล พวกเขาพยายามทำลายตั๊กแตนด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ก็ ไม่สามารถกำจัดได้
หลังจากสี่ปีของการสูญเสียพืชผลอย่างรุนแรง ผู้ว่าการรัฐมินนิโซตา จอห์น เอส พิลส์เบอรี ได้ ประกาศวันที่ 26 เมษายน 1877 เป็นวันอธิษฐาน ภาวนาทั่วทั้งรัฐ เพื่อขอให้พระเจ้าเข้ามาหยุดยั้ง ตั๊กแตน คืนนั้นอากาศเริ่มเย็นและมีฝนตก จากนั้น ฝนก็กลายเป็นหิมะ ผู้คนหวังว่าความหนาวเย็น จะหยุดฝูงตั๊กแตน แต่เมื่อพายุสงบลง พวกมันก็ยัง คงแพร่หลายเหมือนเดิม
ในเดือนพฤษภาคม 1877 คุณพ่อลีโอ วินเทอร์ คณะเบเนดิกติน ที่เพิ่งบวชใหม่ ได้รับมอบหมายให้ มาประจำอยู่ที่เซนต์เจมส์ ในจาคอบส์แพรรี รัฐมินนิโซตา และที่เซนต์นิโคลัส คุณพ่อวินเทอร์ และ สนับสนุนให้บรรดาสัตบุรุษสวดภาวนาต่อไป คุณพ่อย้ำว่าควรอธิษฐานภาวนาต่อพระแม่ โดยเฉพาะ เพื่อขอร้องให้พระแม่ทรงยุติการแพร่ระบาดของตั๊กแตน
นอกเหนือจากคำอธิษฐานภาวนาแล้ว บรรดาสัตบุรุษยังตัดสินใจสร้างวัดน้อยขึ้น “เพื่อถวายเกียรติ แต่พระมารดาของพระเจ้า เพื่อขอความคุ้มครอง จากพระนาง ในฐานะผู้เสนอวิงวอน และขอให้พ้นจากความหายนะที่เกิดจากฝูงตั๊กแตน” ชาวนาสองคน บริจาคที่ดินทั้งหมด 7 เอเคอร์ และเริ่มก่อสร้างวัดน้อย เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 1877
วัดไม้แห่งนี้ใช้เวลาสร้างไม่ถึงหนึ่งเดือน ในวันที่ 15 สิงหาคม 1877 สมโภชพระนางมารีย์ได้รับเกียรติขึ้นสู่สวรรค์ คุณพ่อได้ถวายแท่นบูชาและประกอบพิธีมิสซาครั้งแรกที่วัดแห่งนี้ และคุณพ่อสัญญาว่าจะถวายมิสชาขอบพระคุณพระเจ้าทุกวันเสาร์ และ ตามเรื่องเล่าในท้องถิ่น เมื่อถึงเวลาถวายพิธีมิสซา ครั้งที่สอง พวกเขาก็ไม่พบตั๊กแตนแม้แต่ตัวเดียวในบริเวณรอบ ๆ และตั้งแต่นั้นมาก็ไม่มีการรุกรานของตั๊กแตนอย่างรุนแรงในแถบมิดเวสต์อีกเลย อย่างไรก็ตาม ในปี 1894 พายุทอร์นาโดได้ทำลายวัดน้อยแห่งนี้ ยกเว้นรูปปั้นพระแม่มารีย์ที่รอดจากพายุครั้งนั้น
วัดน้อยปัจจุบัน
วัดหลังใหม่ถูกสร้างขึ้นในปี 1951 วัดหลังนี้มี ขนาดใกล้เคียงกับวัดหลังเดิม แต่สร้างด้วยหิน แกรนิตจากเหมืองหินในท้องถิ่น และมีชื่อเป็น ทางการว่า วัดอัสสัมชัญ วัดหลังนี้สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงการสิ้นสุดของฝูงตั๊กแตน และเป็นการเชิดชูเกียรติพระแม่มารีย์ พระมารดาของพระเจ้า
วัดน้อยแห่งนี้ตั้งอยู่ในบรรยากาศที่เงียบสงบและเย็นสบาย รายล้อมไปด้วยต้นไม้ เหนือประตูวัด แผ่นหินรูปโค้ง สลักด้วยคำว่า Assumpta Est Marie ซึ่งแปลว่าพระนางมารีย์ได้รับการยกขึ้นสู่สวรรค์ เป็นภาพพระมารดาประทับยืนอยู่บนเมฆ และที่พระบาทของพระนางมีตั๊กแตนสองตัว เป็นเครื่องเตือนใจถึงตั๊กแตนในทศวรรษ 1870 และอำนาจของพระมารดาที่มีต่อพวกมัน ภายในวัดมีพระแท่นบูชา ผนังภายในทำจากหินแกรนิตคาร์เนเลี่ยน บนผนังด้านหลังแท่นบูชามีรูปปั้นพระแม่ มารีย์อุ้มพระกุมารเยซู มีหน้าต่างกระจกสีหลายบาน ด้านหลังวัด มีแท่นบูชากลางแจ้งสำหรับประกอบพิธีมิสซาในวันสำคัญต่าง ๆ แน่นอนว่าการเฉลิมฉลอง หลักคือวันที่ 15 สิงหาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันสมโภชพระแม่มารีย์เสด็จขึ้นสู่สวรรค์
วัดน้อยแห่งนี้เป็นเครื่องเตือนใจถึงพลังแห่งการอธิษฐานภาวนา และพลังอำนาจของพระนางมารีย์พรหมจารี และเพื่อเป็นการระลึกว่า ตั้งแต่ปี 1877 เป็นต้นมา ไม่มีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของฝูงตั๊กแตนในมินนิโซตาหรือแถบมิดเวสต์อีกแลย