เคาะประตู
เราคงเคยเห็นภาพวาด ยุควิคตอเรียของศิลปินชื่อ “ฮอลแมน ฮันท์” ชื่อ “แสงสว่าง” แต่เราอาจไม่ได้สังเกตว่า ภาพนี้ต้องการสื่ออะไร ภาพวาดนี้แสดงภาพของพระเยซูเจ้า ในลักษณะที่อ่อนโยน สวมมงกุฎ และเสื้อคลุม พระหัตถ์ถือตะเกียง พระองค์ทรงยืนข้างหน้าประตูไม้โอ๊กบานใหญ่ ไม่ใช่เหตุบังเอิญที่ประตูนี้ไม่มีทั้งลูกบิด และมือจับไม่มีแม้แต่รูกุญแจ ซึ่งเห็นได้ชัดว่า วิธีเดียวที่พระเยซูเจ้าเสด็จเข้าไปภายในบ้านได้นั้น นอกจากจะพังประตูเข้าไป ซึ่งไม่เหมาะสมแน่นอน คือต้องมีใครสักคนภายในบ้านหลังนั้น พร้อมที่จะเปิดประตูรับพระองค์
พระเยซูเจ้าทรงต้องการความช่วยเหลือ ความร่วมมือ ชุมชน และพระองค์เองทรงพร้อมที่จะ แสวงหา ขอ และ เคาะประตู อย่างแน่นอน ฮันท์กำลังเตือนใจเราว่า ถ้าพระเยซูเจ้าเองทรงพร้อมจะเคาะประตูบ้านของเรา ย่อมไม่เสียศักดิ์ศรี ถ้าเราจะทำเช่นเดียวกัน
เราสมควรใคร่ครวญภาพลักษณ์นี้ของพระเยซูเจ้า คำว่า “เรากำลังยืนเคาะประตู” มาจากหนังสือวิวรณ์ บทที่ 3 ข้อ 20 ซึ่ง พระเยซูเจ้าทรงตรัสแก่เราทุกคน พระองค์ทรงยืนที่หน้าประตูแล้ว ส่วนเราอยู่ในฐานะเจ้าของบ้าน เราได้รับความบรรเทาใจจากคำสัญญาของพระองค์ ว่า “จะเปิดประตูรับเรา” แต่ย่อมเป็นความรับผิดชอบของเราเช่นกัน ที่ต้องพร้อมจะเปิดประตูรับพระองค์ด้วย
พร้อมที่จะเปิดประตูรับผู้ที่มาเคาะ และพร้อมที่จะต้องเคาะประตูบ้านของผู้อื่น เป็นสิ่งที่เราพบในพระวรสารของนักบุญมัทธิว และในสองภาพลักษณ์ โดยเฉพาะภาพลักษณ์ที่ 1 กล่าวถึง เครื่องหมายที่บอกว่าพระองค์กำลังเสด็จกลับมา พระเยซูเจ้าตรัส (ถึงบุตรแห่งมนุษย์) ว่า “จงรู้เถิดว่าพระองค์ทรงเข้ามาใกล้ จนถึงประตูแล้ว” (มธ 24:33) ศิษย์แท้จะต้องเปิดประตู เชิญพระองค์เข้ามาในบ้าน และต้อนรับพระองค์อย่างเหมาะสม….แล้วเราในฐานะ “ศิษย์” ของพระองค์ ย่อมต้องพร้อมที่จะ ออกไปเคาะประตูบ้านพี่น้องเรา เพื่อขอโทษ ขอบคุณ และแบ่งปันสิ่งต่าง ๆ แก่กัน