ร้านอาหารที่เสิร์ฟผิดบ่อยที่สุด แต่ทำให้คนเข้าใจกันมากที่สุด
มองจากภายนอกอาจจะดูเหมือนร้านอาหาร ทั่วไป แต่รับประกันว่า ร้านนี้ไม่ธรรมดาแน่นอน บรรยากาศในร้านมีแต่รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ เพราะที่ The Restaurant Of Mistaken Orders ภาพของคนชราที่ความจำเสื่อมใส่ผ้ากันเปื้อนที่มี กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นร้านอาหารไม่ได้ตามสั่ง รับออเดอร์และเสิร์ฟโดยพนักงานความจำเสื่อม เมื่อก้าวเข้าไปในร้านจะพบกับคุณยายหน้าตายิ้มแย้ม รอต้อนรับและให้บริการ และนี่เองที่เป็น Key word ของร้านนี้ คือสั่งอย่าง แต่ได้อีกอย่าง เพราะคุณยายผู้รับออเดอร์และเสิร์ฟ เป็นผู้ป่วยความจำเสื่อมนั่นเอง ก็จะหลงๆ ลืมๆ หน่อย เราก็มีหน้าที่ลุ้นว่า จะมีอะไรมาเสิร์ฟ ซึ่งแน่นอนไม่ใช่ที่สั่งไป
ร้านนี้ภายนอกออกแบบ ตกแต่งแบบเรียบง่ายสไตล์โมเดิร์น การันตีว่าทุกเมนูอร่อยอย่างมีคุณภาพ แม้เสิร์ฟอาหารให้คุณผิดเป็นประจำ แต่ลูกค้าไม่เคยบ่นแถมมีแต่รอยยิ้ม เสียงหัวเราะด้วยความ “เข้าอก เข้าใจ” ร้านอาหารที่เป็นมากกว่าร้านอาหาร เพราะต้องการทำให้คนในสังคมเปิด ใจให้กว้าง เข้าอกเข้าใจคนแก่ที่ป่วย เป็นโรคความจําเสื่อมมากขึ้น คนที่ใครๆ ก็คิดว่าพวกเขาหมดประโยชน์ ดูแลตัวเองไม่ได้ ทำอะไรไม่ได้
ด้วยชื่อร้านก็บอกชัดเจนอยู่ แล้วว่ามาทานอาหารร้านนี้ มีโอกาสสูงมากที่คุณจะไม่ได้ทานในสิ่งที่คุณสั่ง แต่ไม่มีลูกค้าคนไหนบ่นสักคำ เพราะร้านการันตีว่าอาหารทุกจานอร่อย ถึงแม้คุณจะไม่ได้ทานเมนูที่คุณตั้งใจ ก็ตาม 37% ของออเดอร์ เสิร์ฟผิด แต่ 99% ของลูกค้ามีความสุข มีความพึงพอใจ บรรยากาศในร้านมีแต่รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ ภาพของคนชราที่ความจำเสื่อมใส่ผ้ากันเปื้อนที่มีชื่อของตัวเองเขียนอยู่ ขอโทษลูกค้าด้วยความเขินอาย ที่เสิร์ฟอาหารให้ลูกค้าผิด และตัดไปภาพของลูกค้าที่ยิ้มอย่างอารมณ์ดีแล้วบอกว่าไม่เป็นไร สุดท้าย พวกเขาได้ลิ้มรสอาหารที่แสนอร่อยพร้อมกับความ สุขใจในการได้สนับสนุนและให้กำลังใจผู้ป่วยความจำเสื่อม ที่หลายคนมองว่าเป็นคนที่ไร้ประโยชน์ นั่นทำให้การมาทานร้านอาหารนี้ได้อิ่มทั้งท้องและ อิ่มเอมหัวใจไปอีกนาน
“The Restaurant of Mistaken Orders” จึงทำให้เขาผุดไอเดียนี้ขึ้นมา ร้านอาหารไม่ได้ตามสั่งนี้ถือกำเนิดขึ้นในปี 2017 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยแนวคิดของ Shiro Oguni ที่มองว่าคนส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจปัญหา ของผู้ป่วยด้วยโรคความจำเสื่อม เขาอยากให้คนใน สังคมเปิดใจให้กว้าง มีความเห็นอกเห็นใจ เข้าอก เข้าใจ ในความแตกต่างของคนที่เป็นโรคความจำเสื่อม ที่คนส่วนใหญ่มักมองว่าพวกเขาไร้ประโยชน์ ทำอะไร ไม่ได้ ต้องใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยว ไร้ความหมาย แต่ คุณโอกุนิคิดว่าหากคนในสังคมได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยเหล่านี้ก็จะเกิดความเข้าใจและยอมรับคนกลุ่มนี้มากขึ้นว่า พวกเขาต้องเผชิญกับสภาวะที่ยากลำบากอย่างไร เขาอยากให้มีการเปิดใจ เข้าใจ และยอมรับผู้ป่วยโรค ความจำเสื่อมมากขึ้นในญี่ปุ่นและทั่วโลก ซึ่งจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคนี้นับวัน มีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบันผู้ป่วย ด้วยโรคความจําเสื่อมมีมากกว่า 35 ล้านคนทั่วโลก
คุณโอกุนิ หนึ่งในผู้คิดค้นร้านอาหารไม่ได้ตามสั่ง เล่าถึงที่มาของแนวคิดชวนอมยิ้มนี้ว่า เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ได้ทำสารคดีเกี่ยวกับผู้ชำนาญการ ในการดูแลผู้ที่มีภาวะความจำเสื่อม ได้ไปถ่ายทำที่กรุ๊ปโฮม และได้ร่วมรับประทานอาหารที่กรุ๊ปโฮมหลายครั้ง อยู่มาวันหนึ่งคุยกันไว้ว่า มื้อนี้จะเป็นแฮมเบิร์ก แต่เมื่อถึงเวลาจริงๆ กลับได้รับเกี๊ยวซ่าแทน ซึ่งคุณโอกุนิ ก็คิดว่า “ถึงจะได้เกี๊ยวซ่า ก็ไม่เป็นไร กินได้เหมือนกัน” สะท้อนให้เห็นว่า หลายครั้งที่สังคมต้องการแต่ความถูกต้อง จนบาง ครั้งไม่สามารถยอมรับความผิดพลาดได้เลย จริงๆ แล้วเราควรมองหาแง่ดีจากความผิดพลาดนั้น จึงทำให้เขาผุดไอเดียนี้ขึ้นมา
คุณโอกุนิกล่าวว่าสิ่งที่เขาต้องการสื่อสารออกไปได้ขยายวงมากขึ้น สังคมได้เปิดใจ เข้าใจ และอดทนต่อผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมมากขึ้น ลูกค้ากว่า 95% บอกว่านี่เป็นวิธีที่ดีมากที่ทำให้พวกเขาเข้าใจผู้ป่วยโรคความจำเสื่อม ร้านอาหารร้านนี้เปิดขึ้นได้ ด้วยเงินบริจาคของผู้ที่มีจิตศรัทธาล้วนๆ และปัจจุบัน ร้านก็ยังเปิดรับเงินบริจาคอยู่ตลอด จากร้านแรกที่โตเกียว เนื่องจากเสียงตอบรับที่ดีทั้งจากประชาชน ทั่วไปและรัฐบาล จึงขยายสาขามากขึ้น
“ฉันได้ยินที่คุณสั่ง แต่ขอโทษด้วยค่ะ ตอนนี้ ฉันจำไม่ได้แล้ว” หญิงชราหนึ่งในพนักงานเสิร์ฟที่เป็นความจำเสื่อมกล่าว แต่ไม่มีใครโกรธ โมโห ลูกค้าทุกคนมีแต่รอยยิ้ม เพราะด้วยความที่ลูกค้าทุกคนมาที่นี่ด้วยความเข้าใจอยู่แล้ว บรรยากาศของความง่ายในการยอมรับ การให้อภัยและเข้าใจจึงเป็นบรรยากาศที่อบอวลอยู่ในร้าน “มีความผิดพลาดเกิดขึ้นบ้าง แต่ อบอุ่นในหัวใจ เราได้แต่ยิ้มและหัวเราะอย่างเข้าใจกับความผิดพลาดนั้น” ลูกค้าคนหนึ่งกล่าว ลูกค้าหลายต่อหลายคนต่างกล่าวตรงกันว่า ควรมีร้านแบบนี้เกิดขึ้นอีกเยอะๆ ลูกค้าอีกคนกล่าวว่า “ผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมก็เหมือนกับคุณกับผม ทำไมเราจะไม่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพวกเขาล่ะ”
“ได้ของผิดแต่จิตไม่ขุ่น”
ในประเทศญี่ปุ่นมีร้านอาหารร้านหนึ่ง ชื่อแปลกดี “ร้านรวมอาหารสั่งผิด” ทำไมถึงชื่อนี้ ก็เพราะว่าร้านนี้จ้างเฉพาะคนที่มีปัญหาความจำเสื่อม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนแก่ ให้ม เป็นพนักงานเสิร์ฟอาหาร เมื่อลูกค้ามาที่ร้าน พนักงานเหล่านี้จะไปรับคำสั่ง (รับออเดอร์) จากลูกค้าว่าต้องการอะไร แต่พนักงานหรือบริกรเหล่านี้มักจำผิด เพราะมีปัญหาเรื่องความจำอยู่ก่อนแล้ว ดังนั้น อาหารที่ลูกค้าได้รับ บ่อยครั้งจะไม่ตรงกับที่สั่ง สถิติคือผิดร้อยละสี่สิบ หมายความว่า ลูกค้า 100 คน จะได้อาหารไม่ตรงตามที่สั่ง 40 คน แต่ปรากฏ ว่าลูกค้าเกือบจะร้อยทั้งร้อย พอใจในบริการของร้าน ทั้งที่โดยปกติ หากได้อาหารไม่ตรงกับที่สั่ง คนส่วนใหญ่ก็จะไม่พอใจ หงุดหงิด โวยวาย ยืนกรานว่าจะต้องได้อาหารตามที่สั่งให้ได้ แต่ลูกค้าร้านนี้เกือบทุกคนกลับพออก พอใจ…อันนี้น่าคิด แต่ว่าก่อนจะถึงตรงนั้น ว่าทําไมเป็นอย่างนั้น
ประเด็นที่น่าสนใจคือทำไมร้านนี้จึงเจาะจง จ้างคนที่ความจําไม่ดีหรือความจำเสื่อมให้มาเป็นบริกร ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเจ้าของร้านอยากช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ ซึ่งปัจจุบันมีมากขึ้นเรื่อยๆ ในญี่ปุ่นคนอายุยืนมาก มีคนแก่เยอะ พออายุมากความจำก็มักจะเสื่อม ถ้าอาการหนักก็คือเป็นอัลไซเมอร์ แต่หลายคน ไม่ได้มีอาการหนักขนาดนั้น ความจำเสื่อมแต่ก็ยังรู้เนื้อรู้ตัว ดูแลตัวเองได้ แต่เนื่องจากความจำเสื่อม จึงจำผิดๆ ถูกๆ และมักจะถูกรังเกียจจากคนทั่วไป ถ้าเป็นพ่อแม่ ลูกก็มักจะกักตัวให้อยู่แต่ในบ้าน ไม่ให้ออกไปไหน กลัวว่าจะหลงทางบ้าง กลัวว่าจะไปทำอะไรเสียหายบ้าง คนเหล่านี้จึงใช้ชีวิตอย่างหงอยเหงา ถูกตัดขาดจากสังคม รู้สึกว่าตัวเองไร้คุณค่า ซึ่งทำให้อาการแย่ลง มีความทุกข์มากขึ้น เจ้าของร้านเป็นคนหนุ่ม อยากเปิดโอกาสให้คนกลุ่มนี้ ได้ออกมามีสังคม ได้ทํางาน มีบทบาท โดยเฉพาะเข้ามาเกี่ยวข้องปฏิสัมพันธ์กับผู้คน ซึ่งจะช่วยให้รู้สึกดีขึ้น เพราะคนเหล่านี้ถ้าถูกตัดขาดจากผู้อื่นและไม่มีอะไรไม่ได้ ใช้สมอง จิตใจก็จะหงอยเหงาห่อเหี่ยว อย่าว่าแต่คน ความจำเสื่อมเลย คนเฒ่าคนแก่ที่ความจำเป็นปกติ แต่วันหนึ่งๆ ไม่ได้พบเจอใคร อยู่แต่ในบ้าน ลูกหลาน ไม่ค่อยได้เจอะเจอ แถมไม่มีอะไรให้ทำ ย่อมรู้สึกว่า ตัวเองไร้คุณค่า ไม่จะอยู่ไปทำไม….
คนเรานั้น หากเตรียมใจไว้แต่เนิ่นว่าอาจจะต้องเจออะไรบ้าง แม้เป็นสิ่งไม่ถูกใจ ไม่ตรงกับความคาดหวัง พอได้เจอเข้าจริงๆ ทุกข์น้อยลง เจ้าของร้านอยากจะช่วยสงเคราะห์คนกลุ่มนี้ให้งานการ เพื่อหารายได้แต่เพื่อให้มีความสุข ให้รู้สึกว่าไม่โมโหโกรธา ตัวเองมีคุณค่า ว่าได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ เขาจึงเจาะจงเลือกจ้างเฉพาะคนที่มีปัญหาด้านความจำ… อย่างที่บอกคือพอจ้างคนเหล่านี้มาเป็นบริกร ทั้งๆ ลูกค้าได้อาหารไม่ตรงตามที่สั่ง แต่ลูกค้าก็ยังพอใจ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เหตุผลหนึ่งก็คือ เพราะเขาเตรียมใจไว้แล้วว่าอาจจะได้อาหารไม่ตรงกับที่สั่ง ดังนั้น พอเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นจริงๆ ก็ยอมรับได้ ไม่ทุกข์ ไม่โมโห ไม่หงุดหงิด
พื้นที่ว่างจากความคาดหวังของคนเรานั้น หากเตรียมใจไว้แต่เนิ่นๆ ว่าอาจจะต้องเจออะไรบ้าง แม้เป็นสิ่งที่ไม่ถูกใจ ไม่ตรงกับความคาดหวัง พอได้เจอเข้าจริงๆ ก็ทุกข์น้อย เช่นเดียวกับการเดินทางในกรุงเทพฯ ถ้าเตรียมใจว่าอาจจะเจอรถติด ก็ไม่หงุดหงิด หรือเป็นทุกข์เท่าไหร่ ในทำนองเดียวกัน ถ้าเตรียมใจไว้ก่อนว่าการทำงานอาจมีอุปสรรคบ้าง มีความล้มเหลวบ้าง ต้องเจอสิ่งที่ไม่ถูกใจบ้าง หรือเตรียมใจไว้ก่อนว่าชีวิตนี้ย่อมมีความไม่ราบรื่น บางครั้งก็ต้องเจอความพลัดพรากสูญเสีย ต้องเจอความเจ็บป่วย ถ้าเรารู้จักทำใจอย่างนี้ พอเกิดเหตุการณ์เหล่านั้นเข้า ก็จะไม่ทุกข์มากนัก ไม่โวยวายตีโพยตีพาย
การรู้จักเตรียมใจล่วงหน้าว่าอาจต้องเจอสิ่งที่ไม่ถูกใจ ไม้เป็นไปดังหวังนั้นมีประโยชน์ ช่วยทำให้เราไม่ทุกข์เมื่อเจอเหตุการณ์นั้นเข้าจริง ๆ นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ลูกค้าหงุดหงิด แม้จะได้ อาหารไม่ตรงตามสั่ง อีกเหตุผลหนึ่งคือ ลูกค้าไม่ถือสาบริกร เพราะว่าบริกรความเสื่อม อาจจะจำผิดๆ ถูกๆ เมื่อไม่ถือสาก็ไม่หงุดหงิด ไม่ทุกข์เวลาเขาเอาอาหารที่ไม่ได้สั่งมาให้ เช่นเดียวกับเวลามีคนเมามาด่าว่า ถ้าเราไม่ถือสาเพราะว่าเขาเมาเราก็ไม่โกรธ ถ้ามีคนบ้าเดินมาชนหลังเรา ตอนแรกเราอาจจะโกรธ แต่พอหันกลับไปแล้วเห็นเขาเป็นคนบ้า เป็นคนเสียสติ เราก็ไม่ถือสา พอไม่ถือสาก็ไม่โกรธ ร้านนี้ก็เช่นกัน ลูกค้าเขาไม่ถือสาบริกรเพราะรู้อยู่แล้วว่าบริกรเป็นคนความจำเสื่อม ได้อาหารผิดก็ให้อภัย ไม่โมโหโกรธา
อันนี้เป็นแง่คิดว่า ถ้าเรารู้จักเตรียมใจล่วงหน้า เข้าใจไม่ถือสา เจออะไรก็ไม่ทุกข์ แต่ที่ทุกข์ก็เพราะว่าเราไม่เข้าใจ เรายึดติดถือมั่นกับความคาดหวังหรือสิ่งที่ควรจะเป็น มองข้ามความเป็นจริงไป ก็เลยเกิดความทุกข์ขึ้นมา ถ้าคิดดูให้ดีๆ ความทุกข์อยู่ที่ใจ ไม่ได้อยู่ที่ว่ามีอะไรมากระทบเรา ที่น่าสนใจอีกอย่าง คือ ลูกค้าร้านนี้นอกจากจะไม่โกรธแล้ว เขามีความสุขด้วย ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เพราะว่าพอมาร้านนี้แล้ว ก็ได้ลุ้นว่าจะเจออาหารอะไรบ้าง การได้ลุ้นทำให้เกิดความตื่นเต้น รู้สึกสนุกขึ้นมา เป็นความสุขอย่างหนึ่ง ซึ่งหาไม่ได้จากร้านอื่นๆ เป็นประสบการณ์ที่ดึงดูดลูกค้าหลายคนให้มาร้านนี้ ทำให้ร้านนี้มีชื่อเสียง ถ้ามีร้านอย่างนี้มากๆ ก็จะช่วยคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับความจำให้เขามีบทบาท ได้ทำสิ่งที่มีคุณค่า ต่อไปอาจจะร้านสำหรับคนพิการ หรือร้านสำหรับคนหูหนวกก็ได้ ซึ่งจะช่วยให้คนเหล่านี้มีที่ยืนในสังคม รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ลูกค้าก็จะมีความสุขไปด้วย เพราะนอกจากจะได้รับประสบการณ์แปลกใหม่แล้ว ยังได้ช่วยเหลือเกื้อกูลเพื่อนมนุษย์ เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ระหว่างคนที่แตกต่างหลากหลาย ซึ่งทุกวันนี้มีมากขึ้นเรื่อย ๆ
(จาก ธรรมก่อนฉันเช้า วัดป่าสุคะโต)